ประมวลภาพกิจกรรม MINI SUMMER CAMP

วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2551

ยูทูบ

YouTube
เว็บไซต์ youtube.com
ประเภทเว็บไซต์ วิดิโอแชริง
เจ้าของ กูเกิล
ผู้ก่อตั้ง สตีฟ เชน และ ชัด เฮอร์เล
วันที่เปิดตัว พ.ศ. 2548
สถานะปัจจุบัน เปิดให้บริการ

ยูทูบ[1] (YouTube) เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลดและแลกเปลี่ยนคลิปวีดีโอผ่านทางเว็บไซต์ ก่อตั้งเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 โดย แชด เฮอร์ลีย์, สตีฟ เชง และ ยาวีด คาริม อดีตพนักงานบริษัทเพย์พาล ในปัจจุบันยูทูบมีพนักงาน 67 คน[2] และมีสำนักงานอยู่ที่ ซานบรูโนในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิล

การทำงานของเว็บไซต์แสดงผลวีดีโอผ่านทางในลักษณะ อะโดบี แฟลช ซึ่งเนื้อหามีหลากหลายรวมถึง รายการโทรทัศน์มิวสิกวิดีโอ วีดีโอจากทางบ้าน งานโฆษณาทางโทรทัศน์ และบางส่วนจากภาพยนตร์ และผู้ใช้สามารถนำวีดีโอไปใส่ไว้ในบล็อกหรือเว็บไซต์ส่วนตัวได้ ผ่านทางคำสั่งที่กำหนดให้ของยูทูบ ยูทูบถือว่าเป็นหนึ่งในเว็บ 2.0 ชั้นนำของอันดับต้น ๆ ของโลก

ยูทูบมีนโนบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่มีภาพโป๊เปลือยและคลิปที่มีลิขสิทธิ์นอกเสียจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อัปโหลดเอง โดยผู้ใช้สามารถทำการแจ้งลบได้

ในวันที่ 9 ตุลาคม 2549 กูเกิลได้ประกาศซื้อบริษัทยูทูบเป็นจำนวนเงินทั้งหมด 1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้เสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และในวันที่ 20 มิถุนายน 2550 ยูทูบ ได้เพิ่มโดเมนไปอีก 9 แห่ง สำหรับ 9 ประเทศ ได้แก่ บราซิล ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น ฮอลแลนด์ โปแลนด์ สเปน ไอร์แลนด์ และ สหราชอาณาจักร[3]

ข้อมูลเชิงเทคนิค

รูปแบบวิดีโอ
ยูทูบใช้งานโดยแสดงผลภาพวิดีโอในลักษณะของ แมโครมีเดีย แฟลช 7 และใช้การถอดรหัสแบบ Sorenson Spark H.263 แฟลชเป็นโปรแกรมเสริมที่ต้องติดตั้งเพิ่มสำหรับเว็บเบราว์เซอร์ทั่วไป โดยแสดงผลที่ขนาดความกว้างและสูง 320 และ 240 พิกเซล ที่ 25 เฟรมต่อวินาที โดยมีการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 300 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งการแสดงผลสามารถดูได้ที่ขนาดปกติ หรือขนาดที่แสดงผลเต็มจอ

ยูทูบแปลงไฟล์วิดีโอเป็นไฟล์ในลักษณะ แฟลชวิดีโอ ในนามสกุล .FLV ภายหลังจากผู้ใช้ได้อัปโหลดเข้าไป ไม่ว่าผู้อัปโหลดจะโหลดในลักษณะ .WMV .AVI .MOV MPEG หรือ .MP4 [4]

รูปแบบเสียง
ไฟล์ในยูทูบเก็บในลักษณะสตรีมไฟล์MP3 โดยมีการเข้ารหัสแบบโมโนที่ 65 กิโลบิต/วินาที ที่ 22050 เฮิรตซ์ อย่างไรก็ตามยูทูบสามารถเก็บไฟล์เสียงในลักษณะสเตอริโอได้หากมีการแปลงเป็นไฟล์ FLV ก่อนที่ทำการอัปโหลด

การแสดงผล
วิดีโอในยูทูบสามารถดูได้ผ่านเว็บไซต์ยูทูบโดยตรงผ่านซอฟต์แวร์แฟลชที่กล่าวมา ดูได้ผ่านแอปเปิลทีวี ไอโฟน ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งนอกจากนี้ยูทูบสามารถดูได้จากเว็บไซต์ทั่วไปที่มีการนำรหัสไปใส่เชื่อมโยงกลับมาที่เว็บยูทูบเอง เห็นได้ตามเว็บบอร์ด

นอกจากนี้สามารถเซฟไฟล์ยูทูบเก็บไว้ในเครื่องของตนเองได้โดยใช้งานซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่น

การปิดกั้นข่าวสารในประเทศไทย

ผู้ใช้ในประเทศไทยได้ถูกปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ยูทูบ ตั้งแต่คืนวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2550 หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พยายามขอความร่วมมือหลายครั้ง ให้กูเกิลนำคลิปวิดีโอตัดต่อพระบรมฉายาลักษณ์ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ออก แต่ถูกปฏิเสธโดยได้ให้เหตุผลว่าคลิปวิดีโออื่นที่โจมตีประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช รุนแรงมากกว่านี้ ซึ่งคลิปวิดีโอดังกล่าว อัปโหลดโดยผู้ใช้ชื่อ paddidda เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2550 มีผู้ชมไปแล้ว มากกว่า 16,000 ครั้ง และมีมากกว่า 500 ความคิดเห็นด้วยกัน [5] [6] หลังจากที่ได้มีการออกข่าว จำนวนผู้ชมไปขึ้นไปถึงกว่า 66,553 ครั้งก่อนที่คลิปวิดีโอดังกล่าวจะถูกย้ายออกจากระบบ แม้ว่าคลิปวิดีโอได้ถูกเอาออกไปแล้ว แต่เว็บไซต์ยังคงถูกบล็อกต่อไป โดยนายสิทธิชัย โภไคยอุดมได้ให้เหตุผลว่ายังมีภาพตัดต่อพระบรมฉายาลักษณ์คงเหลืออยู่ และต้องการให้เอาออกทั้งหมด[7][8]

ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีการยกเลิกการบล็อกเว็บไซต์ยูทูบ จนสามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว หลังจากที่ยูทูบตกลงที่จะบล็อกวิดีโอที่มีการหมิ่นประมาทในไทยต่าง ๆ[9]

อ้างอิง
^ คำว่า YouTube ทับศัพท์ว่า ยูทูบ แทนที่ ยูทิวบ์ โดยใช้หลักการทับศัพท์ตามสำเนียงอังกฤษอเมริกัน เนื่องจากเป็นบริษัทที่ก่อตั้งในสหรัฐอเมริกาและเป็นชื่อเรียกที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
^ จำนวนพนักงานในยูทูบ
^ ข่าว ยูทูบเปิดโดเมนย่อย 9 แห่ง จากกูเกิลบล็อก
^ รูปแบบไฟล์ที่ยูทูบรองรับ
^ Thailand blocks YouTube for clip mocking king ข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์ (อังกฤษ)
^ YouTube disappears from Thai Internet ข่าวจากบางกอกโพสต์ (อังกฤษ)
^ YouTube Clip Out, but Thai Ban Continues (อังกฤษ)
^ Update - ยูทูบลบคลิปแล้ว แต่ไอซีทียังแบนเว็บไซต์ต่อเนื่อง
^ "Ban on YouTube lifted after deal", The Nation, 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550.