ประมวลภาพกิจกรรม MINI SUMMER CAMP

วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2551

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม


วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มุมมองสายตานก จากทางทิศตะวันออก
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสามัญ วัดพระแก้ว
ประเภท พระอารามหลวงชั้นพิเศษ
นิกาย ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา
ความพิเศษ พระอารามประจำพระบรมมหาราชวัง
พระประธาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
พระพุทธรูปสำคัญ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระสัมพุทธพรรณี พระชัยหลังช้าง พระคันธารราษฎร์ พระนาก
ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว
ที่ตั้ง ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
รถประจำทาง 1 3 6 9 15 19 25 43 44 47 53 65 70 80 91 123 201 507
เรือ เรือด่วนเจ้าพระยา: ท่าช้าง เรือข้ามฟาก: ท่าช้าง
เวลาทำการ ทุกวัน 8.00-16.00
จุดที่น่าสนใจ สักการะพระแก้วมรกต ชมจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียง
กิจกรรม เทศนาธรรม วันอาทิตย์ และวันพระ
ข้อห้าม ห้ามสวมกางเกงหรือกระโปรง ที่มีชายสูงกว่าเข่าทุกชนิด เสื้อที่เปิดไหล่ทุกชนิด รองเท้าที่เปิดส้นทุกชนิด และกางเกนยีนส์ขาดๆ
การถ่ายภาพ ไม่ควรใช้แฟลช ในถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง และไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพ ภายในพระอุโบสถเด็ดขาด ฝ่าฝืนมีโทษปรับ และยึดฟิล์ม/สื่อบันทึก
สถานที่ใกล้เคียง กรมศิลปากร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร พิพิธภัณฑ์ฯ ศิลป์ พีระศรี ท่าราชวรดิษฐ์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ สนามหลวง ศาลหลักเมือง ท่าพระจันทร์ วัดพระเชตุพน
หมายเหตุ เข้าชมเป็นหมู่คณะตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องทำหนังสือขออนุญาต ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเงินตรา ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ที่นำมาจากกรุงเวียงจันทร์ แต่แท้ที่จริงแล้ว พบเจอวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส

วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด การบูรณะครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามในโอกาสที่มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามอีกครั้งใน พ.ศ. 2525 เมื่อมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการบูรณะ

วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่สำคัญและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ

อาคารต่างๆในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เนื่องจากภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามมีอาคารสำคัญและอาคารประกอบเป็นจำนวนมาก จึงขอแบ่งกลุ่มอาคารออกเป็น 3 กลุ่ม ตามตำแหน่งและความสำคัญ ดังนี้

กลุ่มพระอุโบสถ
กลุ่มพระอุโบสถ เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญสูงสุด มีพระอุโบสถเป็นอาคารประธานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ล้อมรอบด้วยศาลาราย พระโพธิ์ธาตุพิมาน หอราชพงศานุสรณ์ หอราชกรมานุสรณ์ หอระฆัง หอพระคันธารราษฏร์ และ พระฤๅษี

กลุ่มฐานไพที
กลุ่มอาคารบริเวณฐานไพที มีอาคารหลักสามหลัง คือ ปราสาทพระเทพบิดร พระมณฑป พระศรีรัตนเจดีย์ และวัตถุประดับตกแต่งอื่นๆเช่น รูปปั้นสัตว์หิมพานต์ บุษบกพระราชลัญจกร นครวัดจำลอง พระสุวรรณเจดีย์ และ พนมหมาก

กลุ่มอาคารประกอบอื่นๆ
เป็นกลุ่มอาคารและสิ่งประดับอื่นๆ ที่นอกเหนือจากกลุ่มอาคารทั้งสองกลุ่ม ประกอบด้วย หอพระนาก พระเศวตกุฏาคารวิหารยอด หอมณเฑียรธรรม พระอัษฎามหาเจดีย์ ยักษ์ทวารบาล และจิตรกรรมฝาผนังที่ พระระเบียง ซึ่งมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังจำนวน 178 ห้อง เรียงต่อกันยาวตลอดฝาผนังทั้ง 4 ทิศ มีเนื้อหาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์

พระอุโบสถ

ตั้งอยู่ส่วนกลางของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีซุ้มประดิษฐานเสมารวม ๘ ซุ้ม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๒๖ เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (แก้วมรกต) ที่พระองค์ทรงอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๒

ในการสร้างพระอุโบสถหลังนี้ใช้เวลา ๓ ปี สำเร็จเรียบร้อยลงใน พ.ศ. ๒๓๒๘ ต่อมา เมื่อประมาณได้เกิดเพลิงไหม้บุษบกทรงพระแก้วมรกตซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมขึ้นใหม่ให้ทันฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปลายรัชกาล

หลักฐานการก่อสร้างและรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม ของพระอุโบสถในรัชสมัยนี้ไม่ชัดเจนนัก นอกจากบ่งไว้ว่า ฝาผนังรอบนอกเป็นลายรดน้ำปิดทองรูปกระหนกเครือแย่งทรงข้าวบิณฑ์ดอกในบนพื้นสีชาด ฝาผนังด้านในเหนือประตูด้านสกัดเป็นภาพเรื่องมารวิชัยและเรื่องไตรภูมิ

ส่วนฝาผนังด้านยาวเขียนภาพเทพชุมนุมตามแบบที่สืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยา ฝาผนังระหว่างหน้าต่างเขียนภาพเรื่องปฐมสมโพธิ หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบซึ่งปรากฏว่ามีการแก้ไขในรัชกาลที่ ๓ และ ๔ ในภายหลังดังที่เห็นได้ในปัจจุบัน

พระทวารกลาง เป็นพระทวารใหญ่สูง ๘ ศอกคืบ กว้าง ๔ ศอกคืบ ตัวบานเป็นบานประดับมุกลายช่องกลม ส่วนพระทวารข้างเป็นทวารรองสูง ๗ ศอก กว้าง ๓ ศอก ๑ คืบ ๑๐ นิ้ว ตัวบานเป็นบานประดับมุกกลายเต็ม ซึ่งบานพระทวารทั้ง ๒ แห่งนี้ สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ประทานความเห็นว่า "เป็นฝีมือที่น่าชมยิ่ง ตั้งใจทำแข่งกับบานที่ทำครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งอยู่ที่วิหารยอด"

ภายในพระอุโบสถได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามตั้งแต่เพดานถึงพื้น กลางห้องประดิษฐานพระแก้วมรกตในบุษบกทองคำพร้อมด้วยพระพุทธรูปสำคัญมากมาย

พระพุทธรูปสำคัญภายในพระอุโบสถ

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนตอนต้น ทำจากหินหยกสีเขียวเข้มทึบแสง ปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก ๔๓ ซม. สูง ๕๕ ซม.

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปที่รัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างอุทิศให้กับรัชกาลที่ ๑ และ ๒ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางห้ามสมุทร สูง ๓ เมตร ทรงเครื่องต้นพระจักรพรรดิราช เป็นพระพุทธรูปสำริดหุ้มทองคำลงยาราชาวดี เครื่องต้นประดับเนาวรัตน์ ใช้ทองคำเท่ากับทองที่หุ้มพระศรีสรรเพชญ ในสมัยอยุธยา

พระสัมพุทธพรรณี รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างใน พ.ศ. ๒๓๗๓ ตามอย่างพุทธลักษณะที่พระองค์ทรงสอบสวนได้ สร้างจากกะไหล่ทองคำ ปางสมาธิหน้าตักกว้าง ๔๙ ซม. สูงถึงพระรัศมี ๖๗.๕ ซม. มีการเปลี่ยนพระรัศมีเป็นสีต่าง ๆ ตามฤดูกาล พร้อมกับการเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต

ข้อแนะนำในการเที่ยวที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

แต่งกายให้สุภาพ ห้ามสวมเสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้น กางเกงสามส่วน
ไม่ควรใช้แฟลชในการถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียง เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายกับภาพจิตกรรมได้
ภายในอาคารอื่นทั้งหมดโดยเฉพาะพระอุโบสถ ห้ามถ่ายภาพอย่างเด็ดขาด ฝ่าฝืนมีโทษปรับ และยึดสื่อบันทึก